เรื่องของความเค็ม
January 29, 2015 by admin
Filed under ข้อมูลโรคภัยไข้เจ็บ
หวาน มัน และเค็ม ล้วนเป็นรสชาติที่คนส่วนใหญ่หลงใหล สำหรับเรื่องของการบริโภคหวาน และมันนั้น เราได้พูดคุยถึงข้อดีและข้อเสียกันไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงอีกหนึ่งรสชาติหลักที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
การตรวจสอบคุณภาพสบู่ ตอนที่ 2
September 15, 2010 by admin
Filed under ข่าวสารทั่วไป, สมุนไพรน่ารู้
การตรวจสอบคุณภาพสบู่ ตอนที่ 2
นอกจาก 6 ข้อข้างต้นแล้ว ยังมีหลักการทางเคมีอีก 3 ข้อหลักนะค่ะ
ลองทำความเข้าใจดู ถ้ายังไงสามารถโพสถามได้ค่ะ
7. ไขมันทั้งหมด (total fatty matter)
1 ชั่งสบู่ตัวอย่างประมาณ 5-10 กรัม จดบันทึกน้ำหนักไว้
2 ละลายด้วยน้ำร้อนจำนวน 150 มิลลิลิตร
3 รินใส่กรวยแยกเติมเมทิลออเรนท์ (methyl orange) 2-3 หยด
4 เติมกรดซัลฟูริก (sulfuric acid) จนสารละลายเปลี่ยนเป็นสีแดง แล้วเติมให้เกินพออีก 5 มิลลิลิตร
5 เติมไดเอทิลอีเทอร์ (diethylether) ประมาณ 100 มิลลิลิตร ปิดจุก เขย่าและรอจนแยกชั้น
6 ไขเอาชั้นใสใส่กรวยแยกอีกอันหนึ่งและสกัดซ้ำด้วยไดเอทิลอีเทอร์ (diethylether) ซ้ำหลายๆรอบ และนำเอาส่วนใสมารวมกัน
7 เติมน้ำเขย่ากับส่วนใส จนกระทั่งน้ำล้างเป็นกลาง ทดสอบโดยใช้เมทิลออเรนท์ (methyl orange) จึงไขน้ำล้างทิ้ง
8 ระเหยส่วนใสบนเครื่องอังไอน้ำ โดยใส่ในขวดแก้วก้นแบนครั้งละประมาณ 100 มิลลิลิตร จนหมด
9 ล้างกรวยกรองด้วยไดเอทิลอีเทอร์ (diethylether) 2-3 ครั้งและใส่รวมกันเพื่อระเหย
10 หากมีวัตถุที่ไม่ละลาย แขวนลอยอยู่ให้กรองออกโดยใช้เครื่องกรองที่แห้งและล้างเครื่องกรองด้วยได เอทิลอีเทอร์ (diethylether) และเติมอะซีโตน (acetone) ก่อนนำไประเหย
11 เป่าอากาศเข้าไปประมาณ 1 นาทีและนำไปวางในตู้อบ 90 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 10 นาที
12 เป่าด้วยอากาศประมาณ 1 นาทีก่อนนำไปวางใน desicater
13 ชั่งหาน้ำหนักไขมันที่สกัดได้ แล้วอบขวดแก้วจนกระทั่งน้ำหนักที่ได้ในแต่ละครั้งมีค่าต่างกันไม่เกิน 0.005 กรัม
วิธีคำนวณ : ร้อยละโดยน้ำหนัก= (W1/W2)x 100
W1 คือ น้ำหนักของตัวอย่างเป็นกรัม
W2 คือ น้ำหนักของส่วนที่สกัดได้
8. ด่าง (free caustic alkali)
1 ละลายตัวอย่าง 10 กรัมในเอทิลแอลกอฮอร์ (ethyl alcohol) 100 มิลลิลิตร
2 หยดสารละลายฟีนอล์ฟทาลีน (phenophalene) ประมาณ 0.5 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน
3 อุ่นให้ร้อนถึงอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส
4 เติมสารละลายแบเรียมคลอไรด์ 5 มิลลิลิตร
5 ติเตรตกับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric acid) จนสีชมพูของอินดิเคเตอร์หายไป
วิธีคำนวณ : ร้อยละโดยน้ำหนัก= 0.40T/W
W คือ น้ำหนักของตัวอย่างเป็นกรัม
T คือ ปริมาตรขอกรดไฮโดรคลอริก(hydrochloric acid)เป็นมิลลิลิตร
9. เกลือ (NaCl)
1 ละลายตัวอย่าง 10 กรัม ด้วยน้ำร้อนในบีกเกอร์
2 เติมสารละลายคัลเซียมไนเตรต (calcium nitrate) 20 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน
3 ทำให้เย็นแล้วกรองใส่ขวดปริมาตร
4 ล้างกระดาษกรองด้วยน้ำร้อนลงในขวดเขย่าแล้วเติมน้ำกลั่นให้ถึงขีดเครื่องหมาย
5 ดูดสารละลายมา 100 มิลลิลิตรด้วยปิเปต (pipette)
6 ทำให้เป็นกลางโดยใช้กรดไนตริกเจือจางและใช้เมทิลออเรนท์ (methyl orange) เป็นอินดิเคเตอร์(indicator)
7 ติเตรตด้วยสารละลายซิลเวอร์ไนเตรต (silver nitrate) และใช้โปแตสเซียมโครเมต(potassium chromate) เป็นอินดิเคเตอร์ (indicator)
วิธีคำนวณ : ร้อยละโดยน้ำหนัก= 1.46T/W
W คือ น้ำหนักของตัวอย่างเป็นกรัม
T คือ ปริมาตรของสารละลายซิลเวอร์ไนเตรต(silver nitrate)เป็นมิลลิลิตร
10. สารที่ไม่ละลายในแอลกอฮอล์
1 ชั่งตัวอย่าง 5 กรัม ใส่ในบีกเกอร์ขนาด 250 มิลลิลิตร
2 เติมเอทิลแอลกอฮอร์ 10 มิลลิลิตรและระเหยบนเครื่องอังไอน้ำ ทำเช่นนี้ 3 ครั้ง
3 ครั้งสุดท้ายให้ระเหยแห้งจนน้ำหนักคงที่ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
4 ละลายสบู่ที่แห้งนี้ในเอทิลแอลกอฮอร์ 100 มิลลิลิตรซึ่งเป็นกลางโดยใช้หยดสารละลายฟีนอล์ฟทา-
ลีน (phenophalene) เป็นอินดิเคเตอร์ (indicator)
5 กรองสารละลายผ่านกูช (Gooch) หรือซินเตอร์กลาส (sinter glass cruciblle)
6 ล้างบีกเกอร์ด้วยเอทิลแอลกอฮอร์ที่เป็นกลางผ่านกูช หรือซินเตอร์กลาสอีกครั้ง
7 นำไปอบที่ 130 องศาเซลเซียสและหาน้ำหนักที่คงที่
วิธีคำนวณ : ร้อยละโดยน้ำหนัก= (W1/W2)x 100
W1 คือ น้ำหนักของตัวอย่างเป็นกรัม
W2 คือ น้ำหนักของส่วนที่เหลือจากการทำให้แห้ง
(สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม, 2545)