โรคชิคุนกุนยา – ความรู้ทั่วไป
September 1, 2009 by admin
Filed under ข้อมูลโรคภัยไข้เจ็บ
โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย
– พบครั้งแรกในทวีปแอฟริกา
– จัดเป็นโรคติดต่อ ในประเทศไทยจะมียุงลายสวนเป็นพาหะหลัก ยุงลายบ้านเป็นพาหะรอง
– โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา
– โรคนี้สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักจะพบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก
– สามารถพบได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย พบมากในภาคใต้ และมักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน
– เราสามารถที่จะป้องกันโรคนี้ได้โดยการกำจัดลูกน้ำยุงลายและอหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งยุงลายสวนและยุงลายบ้าน
ยุงลายเป็นพาหะของโรคชิคุนกุนยาได้อย่างไร
– ตามปกติ การเจริญเติบโตของยุงจะใช้เวลาประมาณ 7 – 12 วัน
– เมื่อยุงลายไปกัดผู้ที่มีเชื้อไวรัส ก็จะกลายเป็นยุงพาหะ และสามารถแพร่เชื้อได้ตลอดชีวิต
– เชื้อไวรัส ใช้เวลาเจริญเติบโตในตัวยุงประมาณ 3 – 5 วัน
– ยุงลายมีนิสัยชอบกัดคนในเวลากลางวัน และสามารถกัดได้หลายครั้ง จึงทำให้สามารแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว
– ยุงลายบ้านบินได้ไกล 100 – 300 เมตร จึงชอบกัดคนในบ้าน
– ยุงลายสวนบินได้ไกล 400 – 800 เมตร จึงชอบกัดคนนอกบ้าน
– อาการปวดที่เกิดขึ้นหลังจากถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสกัด 2 – 12 วัน และผู้ป่วยขาดภูมิคุ้มกันโรค หลังจากป่วยแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต
– ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนและยาฆ่าเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา แพทย์จะทำการรักษาตามอาการเท่านั้น
ขอขอบคุณแหล่งที่มา
กระทรวงสาธารณสุข
http://www.thaivbd.org/cms/images/situation/chi_brochure.pdf
Comments
Feel free to leave a comment...
and oh, if you want a pic to show with your comment, go get a gravatar!