โรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease)
August 22, 2010 by admin
Filed under ข้อมูลโรคภัยไข้เจ็บ
โรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease)
พบว่า โรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease) เป็นโรคที่พบมากทุกชนชาติ ทั้งเพศหญิงและชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จัดเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มีการอักเสบของข้อร่วมด้วย บางคนอาจเข้าใจว่าโรคข้อเสื่อมมาจากความชราภาพเพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วยังมีสาเหตุอีกหลายอย่างด้วยกัน ดังที่ SiamHealthAndBeauty.com จะนำความรู้เรื่องนี้มาให้มาจากทราบต่อไปนี้นะค่ะ
โรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease) มีปัจจัยการเกิดโรค มาจาก
- อายุ พบว่าในคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะมีข้อเสื่อมมากกว่าคนที่อายุ ระหว่าง 45-49 ปี สี่เท่า โดยจากการศึกษาพบว่าในคนที่อายุมากนั้น การสร้างกระดูกอ่อน จะเกิดขึ้นน้อยกว่าการทำลาย ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว
- เพศ พบว่าตำแหน่งที่ปวดจะมีความต่างกันในเพศหญิงและเพศชาย โดยเพศหญิงจะเกิดข้อเสื่อม บริเวณเข่า และ ผู้ชายพบมากบริเวณข้อสะโพก
- ความหย่อนยานของเส้นเอ็น
- โรคบางชนิด เช่น เบาหวาน จะเหนี่ยวนำให้เกิดข้อเสื่อมได้
- การกระทบกระแทกของข้อ ในกรณีที่เกิดการกระแทกข้อซ้ำๆเป็นเวลานานๆ ทำให้กระดูกผิวข้ออ่อนแอกว่าปกติ พบมากในอาชีพบางอาชีพ เช่น คนที่ต้องยกของหนักเป็นเวลานานๆ
อาการโรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease)
- เกิดอาการข้อตึงหลังตื่นนอนตอนเช้า (Morning Stiffness) หรือ หลังจากพักเป็นเวลานาน
- เมื่อเป็นเริ่มแรก จะปวดมากหลังทำงานแต่หลังตื่นนอน แต่ต่อมาระยะหนึ่งจะปวดตลอดเวลา
- ข้อบวม กดเจ็บ แดง ร้อน
- มีเสียงดังเวลาเคลื่อนไหว
การรักษาโรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease)
1. รักษาด้วยยา เพื่อลดการปวด ชะลอการดำเนินของโรค
2. รักษาโดยไม่ใช้ยา ได้แก่ การลดน้ำหนัก เพื่อลดภาระของข้อ การออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน การใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ไม้ค้ำ การทำกายภาพบำบัด การฝังเข็ม
3. รักษาโดยการผ่าตัด
โดย
ภญ. Piglet & ภก. Pooh
ความรู้เรื่องกระดูกอ่อนผิวข้อ
ความรู้เรื่องกระดูกอ่อนผิวข้อ มีหน้าที่ให้ความยืดหยุ่นในการรับน้ำหนักของข้อ เกิดการเคลื่อนไหว และ ป้องกันความบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวนั้นๆ
กระดูกอ่อนชนิด Hyaline แบ่งออกเป็น 4 ชั้น
1. ชั้นบนสุด : Super facial zone ประกอบด้วยเส้นใยคอลลาเจนบางๆ เรียงตัวขนานกับผิวข้อ
2. ชั้นกลาง : Middle zone ประกอบด้วยเส้นใยคอลลาเจนหนาแน่นเรียงตัวสานไปมา ในชั้นนี้มีส่วนประกอบต่างๆของ matrix ของกระดูกอ่อน
3. ชั้นลึก : Deep zone กระดูกอ่อนจะเรียงกันเป็นแถว มีคอลลาเจนเส้นใหญ่สานไปสานมา
4. ชั้นที่มีหินปูนมาจับ : Calcified zone เป็นชั้นที่อยู่ด้านในและมีบทบาทต่อกระบวนการ Calcification และมีกระดูกอ่อนชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นนี้ด้วย
ท่านสามารถ ดูรูปประกอบได้จากเนื้อหาเรื่องโรคข้อเสื่อมด้านบนได้ค่ะ