พลูคาว: สมุนไพรสรรพคุณต้านไข้หวัดใหญ่
July 31, 2010 by admin
Filed under สมุนไพรน่ารู้
พลูคาว: สมุนไพรสรรพคุณต้านไข้หวัดใหญ่
พลูคาว หรือ ผักคาวตอง (Houttuynia cordata)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Houttuynia cordata Thunb
วงศ์ : SAURURACEAE
เป็นสมุนไพรไทยที่มักจะพบมากในแถบภาคเหนือของไทย จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ชอบความชื้นและอากาศเย็น ชอบเจริญเติบโตในที่มีร่มเงา เป็นพืชขนาดเล็ก สูง 15-50 ซม. เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปทรงคล้ายรูปหัวใจกว้าง โคนใบเว้า ใต้ใบของพลูคาวจะมีสีแดงอ่อนไปจนถึงสีแดงเข้ม ใบมีกลิ่นคาวคล้ายคาวปลา จะออกดอกในช่วงฤดูร้อน ใบเป็นแผ่นยาวบางติดกับก้านใบขอบหูใบมีขนสั้นๆดอกออกเป็นช่อ ที่ยอดช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมากติดกันแน่นเป็นแท่งทรงกระบอกสีขาวออกเหลืองยาวประมาณ 2 เซนติเมตรและมีกลีบรองช่อดอก 4 กลีบ เป็นแผ่นยาวปลายมนสีขาวแต่ละกลีบยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกย่อยมีเกสรตัวผู้3อันมีก้านเกสรตัวเมีย1อันผลกลมรีส่วนบนมีรอยแยก 3 รอย ผลอยู่ติดกันแน่นเป็นแท่งทรงกระบอกเมล็ดกลมรี ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือปักชำ นิยมนำมาใช้เป็นอาหารหรือผักเคียง
สรรพคุณของพลูคาวต้านไข้หวัดใหญ่
– จากการศึกษาในหลอดทดลอง (in vitro) น้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นพลูคาวสดมีฤทธิ์ต้าน virus ไข้หวัดใหญ่, เริม (Herpes simplex virus type 1) เอชไอวี (HIV-1) โดยสารสำคัญในน้ำมันระเหยจากพลูคาวที่มีฤทธิ์ต้านไวรัสดังกล่าว ได้แก่ methyl n-nonyl ketone, laurly aldehyde, capryl aldehyde
สรรพคุณในตำรับยาไทย
1. ลำต้น: ใช้รักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ฝีหนองในปอด โรคติดเชื้ออื่นๆ
2. ราก: ใช้รากเป็นยาขับปัสสาวะ
3. ใบ:
– ใช้รักษาโรคบิด หัด โรคผิวหนัง ริดสีดวงทวาร หนองใน
– ใช้ปรุงเป็นยาแก้กามโรค ทำให้แผลแห้งเร็ว
– แก้โรคข้อและแก้โรคผิวหนังทุกชนิดทั้งต้นมีรสเย็นและฉุน
– ใช้เป็นยาแก้โรคบิด โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ
– แก้ไอ หลอดลมอักเสบ ฝีบวมอักเสบ ริดสีดวงทวาร หูชั้นกลางอักเสบ
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
1. ฤทธิ์ระงับปวด เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ ห้ามเลือด รักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย
2. ฤทธิ์ขับปัสสาวะ พบสารฟลาโวนอยด์ ที่แยกได้จากใบพลูคาวเป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์
3. ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ น้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นส่วนเหนือดินของพลูคาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างแรงต่อเชื้อ Bacillus cereus และ B. Subtilis เชื้ออหิวาต์ Vibrio cholerae 0-1 และ V. Parahaemolyticus
ที่มา
1. กองการแพทย์ทางเลือก : http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=357
2. http://www.ist.cmu.ac.th/riseat/nl/2003/12/03.php
Comments
Feel free to leave a comment...
and oh, if you want a pic to show with your comment, go get a gravatar!